กฎหมายน่ารู้

ดาบสองคมและ ผลกระทบต่อเด็กเมื่อ พ่อ แม่ชอบอวดรูปบนโลกโซเชียล

ลูกเราน่ารักก็อยากแชร์ความน่ารักน่าเอ็นดูให้ใครได้เห็น แต่รู้หรือไม่ว่าอาจมีผลกระทบที่ตามมากับเด็ก แล้วแบบนี้จะผิดกฎหมายข้อไหนบ้าง?

การกระทำเช่นนี้ถือเป็น การละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว และ และเป็นการเชื้อเชิญให้ผู้ไม่ประสงค์ดี เข้าถึงตัวเด็กได้เป็นอันตรายต่อเด็กอย่างมาก นอกจากนี้อาจสร้างความอึดอัดให้กับเด็ก ความคาดหวังของคนที่พบเห็นว่าเด็กต้องเหมือนในสื่อโซเชียลที่เห็น ถ้าเด็กเกิดเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

รูปที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรโพสต์ ไม่ควรแชร์

  • ภาพถ่ายโรงเรียนของเด็ก หรือเช็คอิน ระบุตำแหน่งพื้นที่สาธารณะ อาจกลายเป็นภัยที่ทำให้ผู้ไม่หวังดีทำร้ายเด็กได้
  • ภาพถ่ายเด็กตอนอาบน้ำ
  • ภาพถ่ายที่เด็กไม่อยากให้แชร์
  • ภาพถ่ายที่ดูแล้วทำให้รู้สึกว่าเด็กๆ ไม่ปลอดภัย เช่น ภาพเด็กนั่งตักพ่อแม่ขณะขับรถ อาจเป็นความประมาทที่ก่อให้เกิดอันตรายได้

กฎหมายว่าด้วยเรื่อง สิทธิเด็กกับภาพถ่าย

สิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองควรรู้ก่อนจะถ่ายรูปเด็ก ๆ ลงโซเชียล มีดังนี้

  • อนุสัญญาว่าด้วย สิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ

เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นส่วนตัว กฎหมายต้องให้ความคุ้มครองเด็กจากการถูกละเมิดชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว หรือการดูหมิ่น เด็กมีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์ทุกรูปแบบ แม้จะไม่มีกล่าวไว้อย่างเจาะจงในอนุสัญญาฯ นี้

  • พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็กหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

  • พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

มาตรา 4(1) ไม่บังคับเพื่อใช้ในประโยชน์ส่วนตน หรือกิจกรรมในครอบครัว ถือเป็นใช้เพื่อครอบครัว และไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.นี้ แต่ถ้ารูปภาพดังกล่าวสร้างความเดือดร้อน สร้างความเข้าใจผิด หรือพาดพิงผู้อยู่ในภาพ หรือผู้อื่นก็ยังมีกฎหมายอื่นคาบเกี่ยวกันอยู่ อาจถูกฟ้องร้องได้ กล่าวได้ว่ายังถ่ายภาพได้ และต้องอย่าทำให้ผู้อยู่ในภาพเดือดร้อน

ขอบคุณข้อมูล sosthailand

https://www.sosthailand.org/blog/childrens-rights-and-photography

Previous article
แชร์ลูกโซ่ คืออะไร?
Next article
“การคุกคาม / ลวนลามทางเพศบนโลกออนไลน์” มีความผิดตามกฎหมาย