กฎหมายน่ารู้

“การคุกคาม / ลวนลามทางเพศบนโลกออนไลน์” มีความผิดตามกฎหมาย

Cyber Sexual Harassment คือ การใช้ภาษาลวนลามทางเพศผ่านสื่อ โซเชียลมีเดีย

พฤติกรรมแบบใดเข้าข่าย Cyber Sexual Harassment?

  • การเหยียดเพศ – การแสดงความคิดเห็นในเชิงดูถูกเหยียดหยามรสนิยมทางเพศ หรือเพศสภาพของผู้อื่น เห็นว่าเป็นเรื่องตลก และนำมาล้อเลียนให้อับอาย
  • การลวนลามทางเพศ – การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศ การพูดถึงอวัยวะเพศ (ชาย/หญิง) เสนอหรือขอทำกิจกรรมทางเพศกับบุคคลดังกล่าว โดยไม่สนใจเรื่องเพศ หรืออายุของผู้ถูกกระทำ โดยที่ไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัว เช่น ขอสักน้ำ สองน้ำ, เห็นแล้ว…ขึ้นเลย, จะตั้งใจเรียน, เป็นต้น
  • การข่มขู่ทางเพศ – การข่มขู่ผู้ถูกกระทำ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเพศ เช่นการเกาะติดชีวิตออนไลน์ของผู้อื่น (Cyber stalking) หรือ เมื่อฝ่ายหญิงเลิกกับฝ่ายชาย แล้วฝ่ายชายนำภาพโป๊ที่เคยถ่ายตอนเป็นแฟนกันมาข่มขู่ หรือแก้แค้นฝ่ายหญิง โดยไม่สนใจว่าอีกฝ่ายจะได้รับความเสื่อมเสียหรืออับอาย

ตัวอย่างพฤติกรรมที่เข้าข่าย Cyber Sexual Harassment

  • การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคนอื่นไปในแนวลามก
  • การกระจายข่าวลือเรื่องการร่วมเพศ หรือนินทาคนอื่นด้วยข้อความบนสื่อออนไลน์
  • การโพสต์แสดงความคิดเห็นทางเพศภาพหรือวิดีโอลามกบนสื่อออนไลน์
  • ส่งข้อความและภาพลามกผ่านข้อความ
  • กดดันให้คนอื่นมีส่วนร่วมในการส่งข้อความลามก
  • ส่งต่อข้อความและภาพลามกผ่านข้อความหรืออีเมล
  • แอบอ้างเป็นบุคคลอื่นบนสื่อออนไลน์ เพื่อแสดงความคิดเห็นลามกหรือเสนอการร่วมเพศ ฯลฯ

Cyber Sexual Harassment เข้าข่ายความผิดอะไรบ้าง

ปัจจุบันยังไม่มีตัวบทกฎหมายที่กำหนดเรื่องการเอาผิดกับผู้กระทำผิดเรื่องลวนลามทางเพศในสังคมออนไลน์ เนื่องจาก พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 ไม่ได้บัญญัติความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศบนอินเทอร์เน็ตไว้เป็นการเฉพาะ อีกทั้งประมวลกฎหมายอาญา ก็ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเช่นกัน มีเพียงบทบัญญัติทั่วไปที่อาจนำมาปรับใช้ตามกรณีที่เกิดขึ้น อาทิ

พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ 2560

มาตรา 14 ข้อ (4) ที่กล่าวไว้ว่า การนำข้อมูลที่มีลักษณะอันลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การกระทำดังกล่าวถือว่า มีความผิด อาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญา

สำหรับในส่วนของประมวลกฎหมายอาญาที่สามารถนำมาเทียบเคียงได้ อาทิ

มาตรา 59 วรรคสอง กล่าวถึงเรื่องเจตนา ว่า ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่า การกระทำของตน (โพสต์ข้อความในเชิงลามก) จะส่งผลอะไรต่อผู้ถูกกระทำนั้นบ้าง

มาตรา 397 กล่าวไว้ว่า บุคคลใดที่กระทำการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่นจนได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ อาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา

https://justicechannel.org/criminal/cyber-sexual-harassment

Previous article
ดาบสองคมและ ผลกระทบต่อเด็กเมื่อ พ่อ แม่ชอบอวดรูปบนโลกโซเชียล
Next article
อินโฟกราฟิก จำเป็นมั้ย? ใส่ข้อมูลส่วนตัวเยอะ ๆ บนโลกออนไลน์ : วันส่งเสริมอินเทอร์เน็ตปลอดภัย