การหลอกให้หลงเชื่อเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจ ที่อ้างว่ามีผลกำไรที่ดีมาก โดยเสนอผลตอบแทนที่สูงลิ่วในเวลาอันสั้นเป็นการจูงใจ คำว่า “ลงทุน” “ผลตอบแทนสูง” “ใช้เวลาไม่นาน” ยิ่งล่อหลอกให้คนมาร่วมลงทุนเยอะขึ้น เพราะหวังที่จะรวยได้แบบรวดเร็ว
รูปแบบการลงทุนแบบแชร์ลูกโซ่
จุดสังเกต รู้ไว้ไม่โดนหลอก
“แชร์ลูกโซ่” ผิดข้อกฎหมายอะไรบ้าง?
ข้อมูลจากรายงาน “รู้เท่าทันการเงินนอกระบบ” สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ระบุว่า ข้อกฎหมายและบทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับคดีแชร์ลูกโซ่ มีอยู่หลายบทด้วยกัน ได้แก่
1. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527
มาตรา 4 : ผู้กระทำการหลอกลวงประชาชนโดยให้ชักชวนให้ลงทุน โดยนำเงินหรือทรัพย์สิน และให้ไปชักชวนคนให้นำเงินมาลงทุนต่อไปเรื่อยๆ ต่อกันไปไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งอ้างว่าจะได้ผลตอบแทนสูง โดยผู้หลอกลวงมิได้นำเงินที่ได้มาไปประกอบธุรกิจที่ถูกกฎหมายเพียงแต่นำเงินที่ได้มาจากผู้ลงทุนรายใหม่ไปหมุนเวียนจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนรายเก่า
มาตรา 5 : เป็นความผิดเกี่ยวกับการโฆษณาชักชวนให้ประชาชนนำเงินมาลงทุนฯ ตามลักษณะของมาตรา 4
มาตรา 12 : ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 4 หรือมาตรา 5 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาทถึง 1 ล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 1 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
2. ประมวลกฎหมายอาญา (ความผิดฐานฉ้อโกง)
มาตรา 341: ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้น กระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ประมวลกฎหมายอาญา (ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน)
มาตรา 343: ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวโนวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวใน
มาตรา 342: อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 1 พันบาทถึง 1 หมื่น 4 พันบาท
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 3, 14 (1) ฐานร่วมกันนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบกับความผิดฐานร่วมกัน “กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน” และร่วมกัน “ฉ้อโกงประชาชน”
** อ้างอิง : “รู้เท่าทันการเงินนอกระบบ” สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง,
หากเราเกิดตกเป็นเหยื่อของแก๊งแชร์ลูกโซ่