ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปทุมราชาที่ 1"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุคนทบท (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Kaoavi ย้ายหน้า ฉบับร่าง:พระปทุมราชาที่ 1 ไปยัง พระปทุมราชาที่ 1: กำลังเผยแพร่ฉบับร่าง AfC ที่ได้รับการยอมรับแล้ว (AFCH 0.9.3)
ป้ายระบุ: ลิงก์แก้ความกำกวม
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:35, 20 มกราคม 2566

  • ความคิดเห็น: เพิ่มแหล่งอ้างอิงจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เพิ่มกล่องข้อมูล และเขียนให้ยาวกว่านี้ 402359 (คุย) 08:46, 10 สิงหาคม 2565 (+07)


พระปทุมราชาที่ 1
กษัตริย์องค์ที่ 90 แห่งกัมพูชา
ครองราชย์มิถุนายน 1640 - 5 มกราคม 1642
ก่อนหน้าพระองค์ทองราชา
ถัดไปสมเด็จพระรามาธิบดี (จันท์)
ผู้สำเร็จราชการพระอุไทย
ประสูติค.ศ. 1616
สวรรคต5 มกราคม ค.ศ. 1642
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
พระราชบิดาพระอุไทย
พระราชมารดานักองค์วาที

พระปทุมราชาที่ 1 (เขมร: បទុមរាជា) พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา ครองสิริราชสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 1640 - 1642

พระปทุมราชาที่ 1 หรือนักองค์โนน หรือนนท์ เป็นพระโอรสองค์โตของพระมหาอุปโยราช (พระอุไทย) ประสูติแต่นักองค์วาทีพระราชธิดาในสมเด็จพระไชยเชษฐาที่ 2 เมื่อนักองค์นูหรือ พระองค์ทองราชา ทรงเสด็จทิวงคตอย่างกระทันหัน พระอุไทยมหาอุปโยราชผู้เป็นพระราชบิดาได้ทำการอภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ ท่ามกลางความขัดแย้งและการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการขึ้นครองราชสมบัติของพระองค์นั้นไม่สง่างาม เพราะผู้ที่สมควรได้สืบราชสมบัติคือ สมเด็จพระรามาธิบดี (จันท์)[1] พระราชโอรสอีกพระองค์ของพระไชยเชษฐาที่ 2 ผู้มีศักดิ์และสิทธิ์ตามพระราชประเพณี แต่อย่างไรก็ตามนับแต่พระไชยเชษฐาที่ 2 เสด็จทิวงคตอำนาจทางการเมืองในขณะนั้นตกอยู่ที่พระอุไทยมหาอุปโยราชทั้งสิ้น แม้พระศรีธรรมราชาที่ 2 และพระองค์ทองราชา ก็แทบมิได้มีอำนาจราชศักดิ์ใดๆ

เมื่อพระองค์ทองราชาทิวงคตอย่างลึกลับในปี ค.ศ. 1640[2] ขณะประทับอยู่ในพระราชวังและเป็นการสิ้นพระชนม์แบบผิดธรรมชาติ พระองค์จันท์ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ทองราชาสมควรที่จะได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อไป แต่พระอุไทยกลับใช้กำลังทหารบุกเข้าล้อมพระราชวังไว้ทั้งที่ยังไม่ได้จัดการพระบรมศพนักองค์นู ทั้งยังบังคับให้พระองค์จันท์มอบราชบัลลังก์ให้องค์โนนพระราชโอรสของพระองค์เองขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น พระปทุมราชาที่ 1[3] ทำให้พระองค์จันท์ไม่พอพระทัยเกิดเจ็บใจแค้น ต่อมาได้วางแผนลอบปลงพระชนม์พระมหาอุปโยราชโดยว่าจ้างทหารรับจ้างชาวจามและมาเลย์ลอบปลงพระชนม์พระอุไทยขณะประทับในพระราชวัง เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1642[4] ขณะเดียวกันกับพระปทุมราชาที่ 1 เสด็จออกไปล่าสัตว์เมื่อสังหารพระอุปโยราชสำเร็จแล้วพระองค์จันท์ใด้ตามไปกุมตัวพระปทุมราชาที่ 1 พร้อมทหารติดตามสำเร็จโทษที่ชายป่าเมืองอุดง และขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระรามาธิบดี (จันท์) แห่งกัมพูชา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Chroniques Royales du Cambodge de 1594 à 1677. École française d'Extrême Orient. Paris 1981 ISBN 2855395372
  2. Robert M. Salkin; Trudy Ring (1996). Paul E. Schellinger; Robert M. Salkin (บ.ก.). Asia and Oceania. International Dictionary of Historic Places. Vol. 5. Taylor & Francis. p. 354. ISBN 1-884964-04-4.
  3. Bernard Philippe Groslier avec la collaboration de C.R. Boxer Angkor et le Cambodge au XVIe siècle d'après les sources portugaises et espagnoles, p. 26 Tableau III « Succession d'Ang Chan » P.U.F (Paris) 1958.
  4. the historical background - Shodhganga, page. 30
  • Chroniques Royales du Cambodge de 1594 à 1677. École française d'Extrême Orient. Paris 1981 ISBN 2855395372
  • Achille Dauphin-Meunier Histoire du Cambodge Presses universitaires de France, Paris 1968 Que sais-je ? n° 916.
ก่อนหน้า พระปทุมราชาที่ 1 ถัดไป
พระองค์ทองราชา กษัตริย์กัมพูชา
(1640-1642)
สมเด็จพระรามาธิบดี (จันท์)

หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์กัมพูชา