รู้จักมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

ประวัติความเป็นมา

มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 (ทะเบียนเลขที่ กท. 1261) โดยกลุ่มคนที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยุคบุกเบิกของไทย เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ใช้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ รู้เท่าทัน จำกัดผลกระทบด้านลบและการใช้งานที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ

Internet Foundation for the Development of Thailand is a not-for-profit organization which has been established in June 2003 with its main objectives are to promote the use of Information Technology and Internet as a medium for economic and social development.
The Internet foundation is also a public benefit organization that has been certified by the Ministry of Social Development and Human Security.

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
  2. เพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตในการพัฒนาชุมชนด้อยโอกาส
  3. เพื่อส่งเสริมการกระจายรายได้ เพิ่มโอกาสทางอาชีพ และการสื่อสารข้อมูลไปสู่ชนบท
  4. เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรพัฒนาสังคมหรือองค์กรการกุศลอื่น ๆ ในการทำประโยชน์สาธารณะ
  5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองใด ๆ

Mission :

  1. Encourage people to use Internet safely and creatively with responsibility
  2. Encourage people to take part in monitoring and reporting online illegal or harmful contents/activities
  3. Consult and support for child online protection policy of the country

Strategies :

  1. Equip children and youth with digital literacy skill
  2. Develop child online protection network and mechanism
  3. Research study for Internet policy improvement of the country
  4. Work with government and private sector for child rights and child protection

คณะกรรมการมูลนิธิฯ

  1. ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์       ประธานกรรมการ
  2. ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล  รองประธาน
  3. พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน     กรรมการ
  4. นางสาววิลาวรรณ วนดุรงค์วรรณ    กรรมการ
  5. นางมรกต กุลธรรมโยธิน    กรรมการและเหรัญญิก
  6. นางศรีดา ตันทะอธิพานิช   กรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการ

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์

“ในสังคมปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   ได้เข้ามา มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก   ทั้งเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานหลากหลาย    ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษา  การวิจัยและพัฒนา  การค้าขาย   อุตสาหกรรม  รวมถึง ด้านบันเทิง อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ   และสังคมของชาติก็ว่าได้ อินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนรูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้คนในสังคมไปอย่างสิ้นเชิงทั้งรวดเร็วกว้างไกลและไร้พรมแดนข้อมูลข่าวสาร  ที่เป็นประโยชน์มากมายล้วนหาได้จากอินเทอร์เน็ต แต่ในทางกลับกันบนอินเทอร์เน็ตก็มีสารสนเทศด้านลบ เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการทำร้าย ละเมิดสิทธิสร้างความเบี่ยงเบนทางความคิด และพฤติกรรมของเด็ก และเยาวชน ฯลฯ  งานส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ จึงไม่ใช่เพียงการให้ความรู้ประชาชน เกี่ยวกับเทคนิควิธีการใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่รวมถึงการปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรมของการเป็นผู้ใช้ที่ดี ที่จะไม่ใช้สื่อดังกล่าวในการทำร้ายตนเอง และผู้อื่นด้วย มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย   มีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ประชาชนไทยได้รู้จัก และคุ้นเคยกับสื่ออินเทอร์เน็ต สามารถใช้งานได้อย่าง สร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เราพร้อมจะประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อสู่จุดหมายร่วมกัน นั่นคือ เศรษฐกิจ และสังคมที่ดีขึ้น”

ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

“อินเทอร์เน็ตคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุด และเป็นสิ่งที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนทั่วโลกในศตวรรษที่ 21 ในทุกๆ ด้าน สังคมใด ที่ไม่พร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ ก็จะถูกทิ้งห่างไว้ข้างหลัง พวกเราจึงอยากจะมาร่วมแรงกันพัฒนาประเทศไทยด้วยสารสนเทศ และความรู้ โดยอาศัยอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องช่วย เราหวังว่า ด้วยการส่งเสริมที่ถูกต้อง คนไทยทั้งหลายรวมทั้งเยาวชน ก็จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศที่จะก้าวไปทัดเทียมกับสังคมสารสนเทศอื่นๆ ผมเชื่อว่า เราจะมีคนไทยที่เป็นคนดีคนเก่ง มาช่วยกันสร้างสรรค์เศรษฐกิจใหม่ ธุรกิจใหม่ทางเทคโนโลยี และช่วยกันยกระดับความรู้ของประชาชนให้ดีขึ้นแน่นอน งานนี้คือปณิธานของมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย”

พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน

นางสาววิลาวรรณ วนดุรงค์วรรณ

นางมรกต กุลธรรมโยธิน

ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช